ช็อกโกแลต

โกโก้ต่างจากช็อกโกแลตอย่างไร

โกโก้ต่างจากช็อคโกแลตอย่างไร

โกโก้กับช็อคโกแลตต่างกันอย่างไร
แตกต่างกันที่ขั้นตอนการผลิต โดยโกโก้นั้นจะถูกนำไปผ่านการกระบวนการรีดไขมันออกก่อน แล้วนำไปทำให้เป็นผงจนละเอียด 
ส่วนช็อกโกแลตก็ทำมาจากโกโก้ โดยที่ไม่ต้องรีดไขมันออกแล้วนำไปบดให้เป็นผงได้เลย  ช่วยให้ความจำดีขึ้น ดาร์กช็อกโกแลตเพิ่มการไหลเวียนของเลือดให้ไปเลี้ยงสมองมากขึ้น ทำให้เราจดจำอะไรได้ดีขึ้น 
โกโก้ผง โกโก้ โกโก้แท้ ผงโกโก้จากผลการวิจัยของมหาวิทยาลัย Nottingham ในประเทศอังกฤษ เผยว่า สารฟลาโวนอยด์ในโกโก้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจดจำของสมองให้นานมากขึ้นถึง 2-3 ชั่วโมง 
ส่วนนักวิจัยแห่งศูนย์จิตเภสัชวิทยามนุษย์ มหาวิทยาลัยสวินเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย เผยว่าการดื่มโกโก้วันละแก้ว “อาจ” ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพความจำของสมองได้ 
และผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พบว่า กินโกโก้ 1,000 มิลลิกรัม หรือ 2 ช้อนโต๊ะต่อวัน มีส่วนช่วยให้การทำงานของสมองดีขึ้น 
โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย บอกว่า โกโก้มีผลดีต่อสมอง แต่มีข้อแม้ว่า ต้องดื่ม โกโก้ ในขนาดสูงทุกวันติดต่อกันอย่างน้อย 1 เดือน 
และยังมีผลการวิจัยในอังกฤษและอิตาลี ที่พบตรงกันว่าโกโก้ดีต่อสมองอีกด้วย
นักวิจัยจาก Hershey Center for Health & Nutrition ได้เปรียบเทียบสารอาหารและโภชนาการในดาร์กช็อคโกแลตกับน้ำผลไม้ พบว่าในดาร์กช๊อกโกแลตนั้นมีสารต้านอนุมูลอิสระหรือ antioxidant ในปริมาณที่มากกว่า โดยผลิตภัณฑ์จากโกโก้นั้นมีระดับของสารต้านอนุมูลอิสระที่เอาชนะผลไม้ดี ๆ อย่าง บลูเบอร์รี่หรือแครนเบอร์รี่ได้ ถึงขนาดที่ยกให้เมล็ดโกโก้นั้นเป็น “super fruit” และให้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโกโก้เป็น “super foods” เลยทีเดียว 
ดาร์กช็อกโกแลตเป็นช็อกโกแลตที่ทำจากพืช ซึ่งประกอบด้วยประโยชน์ที่ส่งผลดีต่อสุขภาพจากผักสีเข้ม ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระ (Flavonoids) เกือบ 8 เท่า เมื่อเทียบกับสารต้านอนุมูลอิสระในผลสตอร์เบอร์รี่ ช่วยผ่อนคลายความดันโลหิตผ่านการผลิตไนตริกออกไซด์และสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย
ดาร์กช็อคโกแลต
นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิพนธ์ พวงวรินทร์ ราชบัณฑิต สาขาวิชาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เขียนคำขวัญไว้ว่า “Two spoonfuls of cocoa a day keeps Alzheimer away” ก็คือ ดื่มโกโก้วันละ 2 ช้อน ทำให้ห่างไกลโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์
โกโก้ ไม่ใช่แค่อร่อย ไม่ได้กินเพื่อให้อารมณ์ดี หรือเป็นเพียงของขวัญวันวาเลนไทน์เท่านั้น แต่ โกโก้ ยิ่งกินยิ่งดีต่อสมอง คือทำให้ความจำ ความคิด การตัดสินใจ การรับรู้ การเรียนรู้ ตลอดจนความรู้สติดีขึ้น ซึ่งโกโก้จะต่างจากช็อกโกแลตตรงที่การแปรรูป ช็อคโกแลตจะทำการแปรรูปในลักษณะที่ยังคงหลงเหลือไขมันติดมาทำให้เรากินเข้าไปแล้วรู้สึกนุ่มละมุน ส่วนโกโก้จะแยกไขมันจนหมดเหลือแต่โกโก้ล้วน และเครื่องดื่มโกโก้น่าจะมีคุณประโยชน์ต่อผู้ที่ชอบดื่มโกโก้จริง ๆ
และควรดื่ม โกโก้ อย่างน้อยวันละ 2 ช้อนโต๊ะ จะส่งผลให้มีความจำที่ดีขึ้น มีความดันโลหิตลดลง พร้อมทั้งมีการลดของค่าระดับไขมันในเลือด และการควบคุมค่าระดับน้ำตาลในเลือดได้ผลดีขึ้น รวมไปถึงมีผลทำให้เพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังสมอง ช่วยทำให้เซลล์สมองทำงานได้ดีขึ้น อีกด้วย
โกโก้ผง โกโก้ โกโก้แท้ ผงโกโก้ผลของโกโก้ต่ออารมณ์และจิตใจ ความรู้เรื่อง โกโก้ และช็อกโกเลต  ที่ก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพทั้งทางด้านจิตใจและอารมณ์ ของมนุษย์นั้น นักวิทยาศาสตร์พบว่า โกโก้มีสารเคมีที่มีคุณสมบัติ ทำให้สมองมีการหลั่งสารเคมีที่ดี เกิดมีความสุขออกมาเป็นจำนวนมาก  ได้แก่ สารโดปามีน  (dopamine) และ สารเซโรโทนิน (serotonin)  จึงทำให้คนเรามีอารมณ์ดีและมีความสุขหลังได้ดื่มโกโก้ คุณสมบัติใน การป้องกันและรักษาการเกิดอาการซึมเศร้าซึ่งเกิด จากการที่สมองขาดสารเซโรโทนินและการดื่ม โกโก้ ยังทำให้สามารถยกระดับอารมณ์ของคนเราให้ดีขึ้น และมีความสุขเพราะมีการเพิ่มขึ้นของสารโดปามีน ในสมองนั่นเอง  ในอดีตชนชาวเผ่ามายา  (Maya) ต่างรู้จัก โกโก้ดีในด้านคุณสมบัติที่ทำให้เกิดความ สุข  สดชื่น  ปิติและอารมณ์ดี  จึงนิยมใช้ดื่มกันมา ตลอดตั้งแต่ในครั้งอดีตกาล นอกจากนี้ยังพบว่าใน  โกโก้ ยังมีส่วนประกอบของสารคาเฟอีน (caffeine)  ที่มีมากในกาแฟร่วมด้วย  แต่พบคาเฟอีนในโกโก้ ที่ปริมาณน้อยมาก  กล่าวคือ  ๕๐  กรัมของช็อกโกเลตจะมีคาเฟอีนราว  ๑๐–๖๐  มิลลิกรัมเท่านั้น  แต่ในขณะที่หนึ่งถ้วยชาของกาแฟ  (ปริมาณราว  ๕  ออนซ์) จะมีคาเฟอีนสูงถึง  ๑๘๐  มิลลิกรัม  ปัจจุบันพบว่าใน  โกโก้และช็อกโกเลตยังมีสารเคมีอื่นๆ  เป็นองค์ประกอบร่วมอีกด้วยมากมาย  เช่น  สารเมธิลแซนธีนส์  (methylxanthines) ทั้ง  ๒  ชนิด  คือ  คาเฟอีน  และธีโอโบรมีน (theobromine)  ฤทธิ์ในการ
กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง  (central  nervous system)  ให้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา  แต่เราพบว่าในโกโก้  มีสารทั้ง  ๒  ชนิดนี้ในปริมาณที่น้อยกว่าในกาแฟมาก  ช็อกโกเลตแท่งขนาด  ๕๐ กรัม  จะมีธีโอโบรมีนราว  ๒๕๐  มิลลิกรัมเท่านั้น  
โกโก้  เป็นสารอาหารประเภทถั่วที่ใช้ชง เป็นเครื่องดื่มกันมานานกว่า  ๔๐๐  ปี  โดยชาวมายา  ในทวีปอเมริกาใต้เป็นผู้รู้จักโกโก้เป็นอย่างดี  ต่อมา โกโก้จึงได้รับความนิยมใช้ดื่มกันทั่วทั้งยุโรปและทั่วโลก โกโก้  มีสรรพคุณที่ดีต่อร่างกายมนุษย์เป็นอย่างมาก  โดยมีองค์ประกอบที่เป็นสารเคมีมากกว่า  ๗๐๐  ชนิดรวมกัน  ส่วนประกอบ สำคัญของโกโก้ 
คือสารเคมีกลุ่มโพลีฟีนอลส์ (polyphenols)  ซึ่งประกอบด้วย
สารอนุมูลอิสระ  (antioxidants) ในผงโกโก้
  • สารฟลาโวนอลส์ (flavonols)
  • ฟลาวานอลส์ (flavanols)
  • ฟลาวาโนน (flavanones) 
  • ฟลาโวนส์ (flavones) 
  • ไอโซฟลาโวนส์  (isoflavones)  
  • และแอนโธซัยยามีนส์ (anthrocyanamines)  สารเคมีเหล่านี้มี คุณสมบัติที่แรงในการทำให้เกิดการต่อต้านในการเกิดสารอนุมูลอิสระ  (antioxidants)  ต่อต้านการเกิดการอับเสบ  (anti-inflammatory)  และป้องกันการเกิดภาวะแข็งตัวของหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย (atherosclerosis)  โกโก้ยังมีผลดีต่อสมอง  คือทำให้ความจำ ความคิด  การตัดสินใจ  การรับรู้  การเรียนรู้ ตลอดจนความรู้สติดีขึ้น  แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องดื่มโกโก้  ในขนาดสูงทุกวันติดต่อกันอย่างน้อย  ๑ เดือน โดยโกโก้จะมีผลต่อสมองทางส่วนความจำ คือ  บริเวณฮิปโปแคมปัส  (hippocampus)  ขณะที่การดื่มโกโก้ในขนาดตํ่าๆ  จะไม่มีประสิทธิผลดังกล่าว นอกจากนี้  โกโก้ยังมีส่วนผสมที่มีคาเฟอีน  และธีโอโบรมีนที่ช่วยกระตุ้นสมองส่วนกลางอีกด้วย  ดังนั้น โกโก้และช็อกโกเลต (ผลิตภัณฑ์จาก  โกโก้  ที่มีนม  เนยและนํ้าตาลผสมในสัดส่วนต่าง ๆ กัน)  จึงมีคุณสมบัติทำให้สมองของคนเราสดชื่น  อารมณ์ดี  แจ่มใสและเป็นสุข เพราะทำให้เกิดการหลั่งของสารสื่อประสาทต่างๆ ได้แก่ สารโดปามีน  สารเซโรโทนิน  และสารเอ็นโดฟีน อีกด้วย  มีรายงานทางการแพทย์ในระยะหลัง ๆ พบว่าการดื่มโกโก้ วันละ  ๒  ช้อนชา เป็นประจำจะมีผลทำให้สมองมีประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น ในด้านความจำ  และยังสามารถแก้ไขภาวะความจำถดถอยในผู้สูงอายุ  (age-related  memory deficit) ได้อีกด้วยโกโก้ผง โกโก้ โกโก้แท้ ผงโกโก้

สั่งซื้อสินค้า กดที่นี่ โกโก้กับช็อคโกแลต