ช็อกโกแลต

โกโก้ผง

       1.   ช็อกโกแลตที่จะพูดถึงในวันนี้  หมายถึงดาร์คช็อกโกแลต คือผงของเมล็ดโกโก้  (Theobroma cacao) ที่ขมปี๋ไม่ได้ใส่อะไรหรือสกัดเอาอะไรออกทั้งสิ้น ไม่เกี่ยวอะไรกับเครื่องดื่มช็อกโกแล็ตที่ทำขึ้นมาจากผลโก้โก้บดบวกนมวัวบวกน้ำตาล โกโก้ผง โกโก้ โกโก้แท้ ผงโกโก้
     2.  โกโก้มีโมเลกุลที่แยกได้แล้วไม่น้อยกว่า 300 ชนิด รวมทั้งคาเฟอีนด้วย ที่ยังแยกไม่ได้ก็ยังมีอีกมาก แต่ก็เดาเอาว่าตัวที่ออกฤทธิ์หลักคือโมเลกุลในกลุ่มฟลาโวนอยด์ซึ่งเป็นสารในกลุ่มโปลีฟีนอลในผลไม้และผักอันถือกันว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีเลิศประเสริฐศรีนั่นแหละ ตัวที่เชื่อกันว่าออกฤทธิ์กลั่นที่สุดที่อยู่ในโกโก้ชื่อ flavan-3-ols บางทีจึงเรียกสั้นๆว่าฟลาวานอล 
โกโก้กับงานวิจัย
     3. หลักฐานเรื่องสารต้านอนุมูลอิสระมีคุณสาระพัดสาระเพ เป็นหลักฐานระดับห้องทดลองนั้นมีแยะ แต่วงการแพทย์ไม่ได้ใช้หลักฐานระดับห้องทดลองมารักษาคน ต้องใช้หลักฐานวิจัยในคนเป็นหลัก บทความนี้ผมจึงจะไม่พูดถึงหลักฐานในห้องทดลองและในสัตว์ทดลอง จะพูดถึงแต่งานวิจัยในคนเท่านั้น หลักฐานว่าฟลาโวนอยด์ดีต่อระบบหัวใจหลอดเลือดนั้นมีขึ้นตั้งแต่งานวิจัยคนสูงอายุที่เนเธอแลนด์ (DZE stydy)ที่ตีพิมพ์ในวารสารแลนเซ็ทราวยี่สิบปีมาแล้ว มีเนื้อความโดยสรุปว่าคนที่กินฟลาโวนอยด์ในอาหารชนิดต่างๆมากจะตายจากโรคหัวใจหลอดเลือดน้อย  
     ก่อนหน้านั้นไม่มีใครสนใจช็อกโกแลตในแง่จะเป็นตัวให้ฟลาโวนอยด์เพราะช็อกโกแล็ตแต่ละยี่ห้อก็มีฟลาวานอยด์ต่างกันได้ลิบลับเพราะกระบวนการผลิตช็อกโกแล็ตส่วนใหญ่ตั้งใจจะแยกเอาฟลาวานอลออกทิ้งเพราะมันขมปี๋ขัดใจตลาด จนกระทั่งมีผู้ไปทำวิจัย แบบขุดคุ้ยดูใบมรณบัตรของคนปานามาที่เป็นอินเดียนเชื้อสายคูนาซึ่งดื่มช็อกโกแล็ตแบบขมปี๋ระดับได้ฟลาโวนอยด์วันละ 900 มก. เป็นประจำ  เปรียบเทียบกับคนปานามาทั่วไป อินเดียน กูนาจะตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจน้อยกว่าหรือเปล่า และก็พบว่าตายน้อยกว่าจริงๆ จึงเริ่มมีการกระดี๊กระด๊าว่าช็อกโกแล็ตเป็นของดีแม้ว่าการวิจัยแบบคุ้ยใบมรณบัตรวงการแพทย์จะนับว่าเป็นหลักฐานระดับจิ๊บจ๊อย (retrospective case control study) ที่ไม่มีการควบคุมปัจจัยเสี่ยงตัวอื่นๆเลยก็ตาม แล้วต่อมาก็มีหลักฐานวิจัยลักษณะเดียวกันนี้ในยุโรป    และในอเมริกา  ซึ่งให้ผลไปทางเดียวกัน ดังนั้น ณ วันนี้จึงพอจะพูดได้เต็มปากเต็มคำว่า ดาร์คช็อกโกแล็ตมีความสัมพันธ์กับการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจน้อยลง นอกจากนี้การยำรวมงานวิจัยแบบแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบก็พบว่าการได้กินดาร์คช็อกโกแลตสัมพันธ์กับการลดความดันเลือดลงได้ด้วย ถึงแม้จะลดลงไม่มาก คือลดความดันตัวบนได้ประมาณ 3 - 4 มม. ถือว่าหน่อมแน้มหากเทียบกับแฟลกซีด (ลดได้ 10 - 15 มม.) กลไกการลดความดันเลือดนี้ก็ค่อนข้างจะตกลงกันได้ว่าน่าจะผ่านการไปเพิ่มก้าซไนตริกออกไซด์ (NO) ที่เยื่อบุหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดขยายตัวขึ้น
คุณค่าของเครื่องดื่มโกโก้
     เอาละ คราวนี้มาตอบคำถาม กินดาร์คช็อกโกแลตแล้วจะช่วยชลอการเป็นโรคอัลไซเมอร์จริงไหม ตอบว่าไม่มีใครรู้หรอกครับ ว่าจริงหรือไม่จริง ถึงต่อให้พระเจ้ามาเป็นแพทย์แผนปัจจุบันเองวันนี้ ผมท้าเลยว่าพระเจ้าก็ไม่รู้ เพราะหลักฐานวิจัยมันขัดแย้งกันเอง และงานวิจัยยังมีไม่มากพอที่จะสรุปให้เป็นตุเป็นตะได้ 
     ผลวิจัยที่พอจะตกลงกันได้ก็คือเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปแล้วว่า ฟลาวานอลจากโกโก้ทำให้เลือดเข้าไปเลี้ยงสมองบางพื้นที่มากขึ้น   แต่มันก็ไม่เกี่ยวกับว่าความจำจะดีขึ้นหรือจะสั่วลงนะ เพราะมีสารจำนวนมากที่มีฤทธิ์ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองบางพื้นที่มากขึ้น รวมทั้งก้าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็น ก๊าซเสียที่เราคุ้นเคยนี้ด้วย ก็เพิ่มเลือดไปเลี้ยงสมองเหมือนกัน แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าอะไรที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้นแล้วจะชลอการขี้หลงขี้ลืมลงได้
     โกโก้ผง โกโก้ โกโก้แท้ ผงโกโก้ส่วนประเด็นที่ว่าดาร์คช็อกโกแล็ตทำให้ความจำดีขึ้นหรือไม่ ทำให้อารมณ์ดีขึ้นหายซึมเศร้าหรือไม่นั้น ผลวิจัยกลับออกมาแบบสองฝักสองฝ่าย ขัดแย้งกันเองจนสรุปไม่ลง บางงานวิจัยก็ว่าทำให้ความจำดีขึ้น บางงานวิจัยก็ว่าไม่ได้ทำให้ความจำดีขึ้น แต่ทุกงานวิจัยล้วนเป็นงานวิจัยเบื้องต้นขนาดเล็กๆกะป๊อกกะแป๊ก บ้างว่าได้ผลดีบ้างว่าได้ผลไม่ดี เช่นงานวิจัยหนึ่งให้คนสูงอายุกินโกโก้ที่มีฟลาวานอลแบบเข้มข้นคือสูงถึง 500 มก. แล้ววัดความจำเทียบกับคนกินโกโก้หลอก พบว่าความจำไม่แตกต่างกันทั้งกินโกโก้จริงหรือโกโก้หลอก 
    ข้างฝ่ายสนับสนุนดาร์คช็อกโกแล็ตว่าช่วยแก้ความขี้หลงขี้ลืมนั้นให้นัำหนักกับการทำวิจัยแบบตามดูกลุ่มคนโดยไม่ได้จับฉลากแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบที่ตีพิมพ์ไว้ในวารสารโรคอัลไซเมอร์   ซึ่งตามดูกลุ่มคนสูงอายุ 531 คน นาน 2 ปีเทียบระหว่างพวกที่กิน กับไม่กินดาร์คช็อกโกแลตว่าใครจะขี้ลืมมากกว่ากันโดยนิยาม "ขี้ลืม" ว่าได้คะแนนทดสอบความจำแบบง่าย (MMSE) ลดลงในสองปี มากกว่า 2 คะแนน ผลวิจัยปรากฎว่า หากนับเฉพาะคนที่มีระดับคาเฟอีนในเครื่องดื่มที่ดื่มทุกชนิดทั้งวันต่ำกว่า 75 มก. พวกที่กิน ดาร์คช็อกโกแล็ตขี้ลืมน้อยกว่าพวกที่ไม่กิน แต่หากนับรวมคนที่ดื่มคาเฟอีน จากเครื่องดื่มทุกชนิดได้มากกว่า 75 มก.ต่อวันขึ้นไป พบว่าคะแนนความขี้ลืมไม่ต่างกันเลยไม่ว่าจะกินหรือไม่กินดาร์คช็อกโกแลต แปลไทยให้เป็นไทยก็คือกินดาร์คช็อกโกแลตลดความขี้ลืมได้เฉพาะคนในที่ไม่ดื่มกาแฟ ถ้าดื่มกาแฟอยู่แล้ว กินหรือไม่กินดาร์คช็อกโกแลตก็ความจำดีเท่ากัน  
  อย่างไรก็ตามองค์กรความปลอดภัยอาหารยุโรป (The European Food Safety Authority) ได้โหมโรงอุดหนุนดาร์คช็อกโกแลตอย่างนอกหน้าไปแล้วเรียบร้อยโดยประกาศว่า  เครื่องดื่มโกโก้ที่มีฟลาวานอล 200 มก. ขึ้นไปช่วยให้หลอดเลือดยืดหยุ่นทำให้เลือดไหลเวียนเป็นปกติดี  เพราะงานวิจัยต่างๆที่ทำในคน เช่นงานวิจัยผลช็อกโกแล็ตต่อความดันเลือดสูงนั้น อัดโกโก้ขมปี๋ให้ผู้เข้าร่วมวิจัย ได้รับฟลาโวนอลสูง เฉลี่ยวันละ 670 มก. เทียบได้กับการกินดาร์คช็อกโกแลตแบบแท่งถึงวันละ 12 แท่ง นี่ของจริงนะครับ หากท่านจะเอาดีทางกินดาร์คช็อกโกแลตท่านต้องกินให้ได้ขนาดนั้น
     กล่าวโดยสรุป ดาร์คช็อกโกแลตทำให้สมองเสื่อมช้าลงหรือไม่ยังไม่ทราบ แม้ทุกวันนี้คำแนะนำการประกอบวิชาชีพ (clinical guidelines) ของวงการแพทย์โดยรวมก็ยังไม่ได้แนะนำให้กินดาร์คช็อกโกแลตเป็นอาหารสุขภาพ ดังนั้นท่านจะกินหรือไม่กินช็อกโกแลตก็เชิญตามสะดวกใจของท่านเถิด แต่หมอสันต์แนะนำว่าอยากกินก็กินไปเถอะ ไม่เพียงแต่ดาร์คชอกโกแล็ตเท่านั้น
โกโก้ร้อนกับประโยชน์
หมอสันต์แนะนำว่าอะไรขมๆให้ขยันกินเข้าไว้ เพราะโมเลกุลที่มีคุณความดีในทางโภชนาการทั้งหลายส่วนใหญ่มีรสขมทั้งสิ้น
การลุยกินของขมมีข้อดี อีกอย่างหนึ่งคือทำให้ท่านเลิกติดรสหวาน ซึ่งเป็นการเสพย์ติด ที่มีแต่เสียกับเสียไม่มีข้อดีอะไรเลย แล้วดาร์คช็อกโกแลตนี้อยากดื่มอยากกินมากก็ดื่มได้กินได้ เพราะยังไม่เคยมีรายงานทางการแพทย์ว่ามันโอเวอร์โด้ส หรือดื่มกินกันเกิดขนาดจนมีข้อเสียเลยนะครับ ก็มันขมปี๋ออกอย่างนั้นถ้าไม่ใช่อินเดียนเผ่าคูนาแล้วจะมีใครหรือที่จะดื่มได้ทีละมากๆ   ก่อนจบย้ำอีกที ดาร์คช็อกโกแลตไม่ได้เป็นญาติอะไรกับช็อกโกแล็ตที่คนซื้อดื่มกันตามปั๊มน้ำมันและร้านกาแฟนะครับ อย่างนั้นเรียกว่าไวท์ช็อกโกแลต

ขอบคุณบทความสุขภาพ นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์

สั่งซื้อสินค้า กดที่นี่ โกโก้กับช็อคโกแลต